Category Archives: ตำบลบางกะเจ้า
ตำบลบางกะเจ้า
ตำบลบางกะเจ้า เป็นตำบลหนึ่งใน 15 ตำบลของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
พระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน
ที่มาของชื่อ[แก้ไขต้นฉบับ]
คำว่า “พระประแดง” บ้างว่ามาจากคำว่า “ประแดง” หรือ “บาแดง” แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว[1]
ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่า “พระประแดง” มาจากชื่อ “พระแผดง” ซึ่งเป็นชื่อเทวรูปสำคัญที่ขุดพบสององค์ที่คลองสำโรงต่อคลองทับนางเมื่อปี พ.ศ. 2061 ซึ่งคำว่า “แผดง” มาจากคำเขมรว่า “เผฺดง” ที่ใช้เรียกเทวรูปหรือตำแหน่งยศขุนนาง โดยเชื่อว่าชื่อเมืองน่าจะเรียกตามศาลพระแผดงที่พวกขอมเคยสร้างไว้[2]
ส่วนรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล สันนิษฐานว่า “พระประแดง” มาจากคำว่า “กมรเตง” ที่หมายถึงเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สององค์ดังกล่าว[3]
ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอพระประแดง เป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า “พระประแดง” เดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านซ้ายคืออยู่ทางฝั่งตะวันออก เดิมเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล สมัยนั้นเรียกว่า “ปากน้ำพระประแดง” โดยตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิมช่วงศตวรรษที่ 23 นั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร[3] ส่วนเมืองนครเขื่อนขันธ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงเดิมแต่อย่างใด ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง[3]
ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์รายปี
- พ.ศ. 2464 ตั้งจังหวัดพระประแดง
- พ.ศ. 2475 ยุบจังหวัดพระประแดง ทำให้อำเภอพระประแดง ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ
- วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนอง และตำบลตลาด (ในปัจจุบันรวมกันเป็นตำบลตลาด)[4]
- วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอพระประแดง จึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอพระประแดง กลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ เหมือนเดิม[5]
- วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางกระสอบ แยกออกจากตำบลบางน้ำผึ้ง[6]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง ในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ ตำบลบางจาก ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ และตำบลสำโรงใต้[7]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ตั้งตำบลสำโรง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้[8]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลสำโรงกลาง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้ [9]
- วันที่ 13 มีนาคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดง ใหม่ โดยให้ สุขาภิบาลพระประแดง ครอบคลุมในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ และตำบลบางจาก และ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ ในท้องที่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรงกลาง และตำบลสำโรง[10]
- วันที่ 24 เมษายน 2537 จัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลพระประแดง[11]
- วันที่ 16 มีนาคม 2540 จัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลสำโรงใต้ [12]
- วันที่ 21 กันยายน 2545 จัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง โดย ยกฐานะจากเทศบาลตำบลลัดหลวง[13]
- วันที่ 20 สิงหาคม 2552 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองสำโรงใต้ [14]
- วันที่ 17 กันยายน 2553 เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย [15]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตพระโขนง และเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ คลองขุด คลองบางฝ้าย กึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองท่าเกวียน และคลองบางจาก เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ (กรุงเทพมหานคร) คลองรางใหญ่ คลองขุดเจ้าเมือง ลำรางสาธารณะ คลองบางพึ่ง คลองแจงร้อน เป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอพระประแดงแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 15 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 67 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ตลาด | (Talat) | 9. | บางกะเจ้า | (Bang Kachao) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บางพึ่ง | (Bang Phueng) | 10. | บางน้ำผึ้ง | (Bang Namphueng) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บางจาก | (Bang Chak) | 11. | บางกระสอบ | (Bang Krasop) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บางครุ | (Bang Khru) | 12. | บางกอบัว | (Bang Ko Bua) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
5. | บางหญ้าแพรก | (Bang Ya Phraek) | 13. | ทรงคนอง | (Song Khanong) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
6. | บางหัวเสือ | (Bang Hua Suea) | 14. | สำโรง | (Samrong) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
7. | สำโรงใต้ | (Samrong Tai) | 15. | สำโรงกลาง | (Samrong Klang) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
8. | บางยอ | (Bang Yo) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอพระประแดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพระประแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะเจ้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระสอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกอบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกอบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]
อำเภอพระประแดงมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนนครเขื่อนขันธ์
- ถนนพระราชวิริยาภรณ์
- ถนนเพชรหึงษ์
- ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
- ถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้)
นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง
- สะพานภูมิพล (วงแหวนอุตสาหกรรม)
- สะพานกาญจนาภิเษก
สำหรับการคมนาคมในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แพขนานยนต์ และ เรือโดยสารข้ามฟาก ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เภตรา และ บริษัท นาวาสมุทร จำกัด เรือโดยสารข้ามฟาก และ เรือหางยาวบริเวณวัดบางน้ำผึ้งนอก (ฝั่งตรงข้ามกับวัดบางนานอก เขตบางนา กรุงเทพมหานคร) เรือหางยาวบริเวณปลายถนนเพชรหึงษ์ (ฝั่งตรงข้ามกับท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร)