Category Archives: เขตลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตลาดกระบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก มีคลองลำนายโส คลองสองต้นนุ่น ลำรางคอวัง ถนนร่มเกล้า แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง ลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน ลำรางตาเสือ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาทรัพย์ คลองบึงใหญ่ คลองลำกอไผ่ คลองลำมะขาม คลองลำปลาทิว (คลองขุดใหม่) คลองลำพะอง คลองกระทุ่มล้ม คลองลำตาอิน และคลองลำตาแฟงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองหลวงแพ่งและคลองประเวศบุรีรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองกาหลงและแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสะพานสูง มีคลองตาพุก คลองแม่จันทร์ คลองลำอ้อตัน (ลำบึงขวาง) และคลองลาดบัวขาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เดิมเขตลาดกระบังเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นเมือง (จังหวัด) หนึ่งในมณฑลกรุงเทพ มีชื่อเรียกว่า อำเภอแสนแสบ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอลาดกระบัง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ[3] และใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบมารวมกับจังหวัดพระนคร[4] อำเภอลาดกระบังจึงย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครด้วย
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบอำเภอลาดกระบังลงเป็น กิ่งอำเภอลาดกระบัง ขึ้นกับอำเภอมีนบุรี เนื่องจากในขณะนั้นมีปริมาณงานไม่มากนักและมีจำนวนประชากรน้อย[5] จนกระทั่งในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2500 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลาดกระบัง อีกครั้ง[6] โดยได้โอนตำบลแสนแสบไปขึ้นกับอำเภอมีนบุรี และแบ่งพื้นที่บางส่วนของตำบลทับยาว มาจัดตั้งเป็นตำบลขุมทองใน พ.ศ. 2504[7]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 อำเภอลาดกระบังจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตลาดกระบัง ตั้งแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตลาดกระบังแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
ลาดกระบัง | Lat Krabang |
10.823
|
30,191
|
2,789.52
|
|
2.
|
คลองสองต้นนุ่น | Khlong Song Ton Nun |
14.297
|
66,839
|
4,675.04
|
|
3.
|
คลองสามประเวศ | Khlong Sam Prawet |
17.458
|
15,896
|
910.53
|
|
4.
|
ลำปลาทิว | Lam Pla Thio |
33.752
|
25,590
|
758.18
|
|
5.
|
ทับยาว | Thap Yao |
25.834
|
31,530
|
1,220.49
|
|
6.
|
ขุมทอง | Khum Thong |
21.695
|
8,304
|
382.76
|
|
ทั้งหมด |
123.859
|
178,350
|
1,439.94
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตลาดกระบัง[8] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตลาดกระบัง ได้แก่
|
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ขนส่งมวลชนทางราง
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
- โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
- โรงเรียนพรตพิทยพยัต
- โรงเรียนพร้อม
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
- โรงเรียนวัดลาดกระบัง
- โรงเรียนวัดปากบึง
- โรงเรียนวัดลานบุญ
- วัดลาดกระบัง
- วัดลานบุญ
- วัดสังฆราชา
- วัดทิพพาวาส
- โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
- วัดปลูกศรัทธา
- วัดราชโกษา
- วัดขุมทอง
- สวนพระนคร
- ตลาดหัวตะเข้
- นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
- สวนนกธรรมชาติหลังนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
- สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
- โรงเรียนมาเรียลัย
- โรงเรียนวัดราชโกษา
- โรงเรียนวัดขุมทอง
- ตลาดเทิดไท
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุวรรณภูมิ
ลาดกระบัง ยกนิ้วให้เรา LK094 ลาดกระบัง ยกนิ้วให้เรา LK0 […]
ลาดกระบัง ยกมือให้ MK Metalsheet LK083 ลาดกระบัง ยกมือใ […]
ลาดกระบัง กดไลค์ให้ MK Metalsheet ลาดกระบัง กดไลค์ให้ M […]