Category Archives: ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address keyword name in category.
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (Thanon Naradhiwas Rajanagarindra)
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (อักษรโรมัน: Thanon Naradhiwas Rajanagarindra) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ความกว้าง 60 เมตร ระยะทาง 5.115 กิโลเมตร
เริ่มจากถนนสุรวงศ์ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับเลียบคลองช่องนนทรี ตัดกับถนนสีลมเข้าพื้นที่แขวงสีลม ตัดกับถนนสาทรเข้าพื้นที่เขตสาทร
โดยฝั่งซอยเลขคี่เป็นท้องที่ของแขวงทุ่งมหาเมฆ ส่วนฝั่งซอยเลขคู่เป็นท้องที่แขวงยานนาวา จนถึงปากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 8 (อาคารสงเคราะห์ 6) จึงเข้าท้องที่แขวงทุ่งวัดดอน ตัดกับถนนจันทน์ เฉพาะฝั่งซอยเลขคู่เข้าสู่ท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา
ส่วนฝั่งซอยเลขคี่ยังอยู่ในท้องที่แขวงทุ่งมหาเมฆจนกระทั่งตัดกับถนนจันทน์เก่า จากนั้นตัดกับถนนรัชดาภิเษก และไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส (ช่องนนทรี)
เขตยานนาวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตคลองเตย มีถนนจันทน์ คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์เก่า ถนนนางลิ้นจี่ ถนนเย็นอากาศ ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และแนวทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระประแดงและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตสาทร มีถนนรัชดาภิเษกและถนนสาธุประดิษฐ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
แต่เดิมบริเวณยานนาวา (รวมสาทรและบางคอแหลม) มีชื่อเรียกว่า “บ้านทะวาย” เนื่องจากมีชาวเมืองทวายอาศัยอยู่จำนวนมาก เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณนี้จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบ้านทะวาย ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระประแดง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร ส่วนการเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวานั้น เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2482 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายชาตินิยม จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอนี้เป็น อำเภอยานนาวา เนื่องจากชื่อบ้านทะวายมีสำเนียงเป็นภาษาต่างด้าว
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอยานนาวาจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตยานนาวา มีพื้นที่การปกครอง 8 แขวง ได้แก่ แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน แขวงทุ่งมหาเมฆ (ปัจจุบันอยู่ในเขตสาทร) แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง (ปัจจุบันอยู่ในเขตยานนาวา) แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม และแขวงวัดพระยาไกร (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางคอแหลม)
ต่อมาพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงจัดตั้งสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (ยานนาวา) และสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 (บางคอแหลม) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนในปี พ.ศ. 2532 และได้ยกฐานะเป็นสำนักงานเขตสาทรและสำนักงานเขตบางคอแหลมในปีเดียวกัน ส่วนวัดยานนาวาและแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตยานนาวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ช่องนนทรี | Chong Nonsi |
9.984
|
48,277
|
32,674
|
4,835.43
|
บางโพงพาง | Bang Phongphang |
6.678
|
29,754
|
18,981
|
4,455.52
|
ทั้งหมด |
16.662
|
78,031
|
51,655
|
4,683.17
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตยานนาวา[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนพระรามที่ 3
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ถนนสาธุประดิษฐ์
- ถนนนางลิ้นจี่
- ถนนเย็นอากาศ
- ถนนจันทน์
- ถนนยานนาวา (สาธุประดิษฐ์-พระรามที่ 3)
- ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางสายรอง
- ถนนจันทน์เก่า
- ถนนเชื้อเพลิง
- ซอยสาธุประดิษฐ์ 58 (ประดู่)
- สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- สะพานพระราม 9 เชื่อมเขตยานนาวากับเขตราษฎร์บูรณะ
- สะพานภูมิพล 1 เชื่อมเขตยานนาวากับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ