ถนนพุทธมณฑล สาย2 หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนพุ […]
Category Archives: ถนนพุทธมณฑล สาย 2
ถนนพุทธมณฑล สาย 2
ถนนพุทธมณฑล สาย 2 is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address focus keyword name in category.
ถนนพุทธมณฑล สาย 2 (Thanon Phutthamonthon Sai 2)
ถนนพุทธมณฑล สาย 2 (อักษรโรมัน: Thanon Phutthamonthon Sai 2) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 7 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 10, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ถนนสุขาภิบาลบางระมาด, ซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 21/1 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 24, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ บริเวณป้ายหยุดรถไฟพุทธมณฑลสาย 2
เขตบางแค เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามวา[1]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาบริเวณติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชัน มีคลองทวีวัฒนา และคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองลัดตาเหนียว คลองบางไผ่ คลองครูเสงี่ยม คลองบางแวก และคลองพระยาราชมนตรีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางบอน มีคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตหนองแขม มีแนวขอบทางถนนบางบอน 3 ซอยเพชรเกษม 69 (อินทาปัจ) และคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
“บางแค” มาจากคำว่า “บาง” หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า “แค” นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย
ประวัติ[แก้]
เขตบางแคในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี มีชื่อว่า ตำบลหลักหนึ่ง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ตำบลบางแค[2] ตามชื่อคลองสายหนึ่งที่ไหลผ่านพื้นที่และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยุบอำเภอหนองแขมมาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ[3] แต่ในช่วงแรกตำบลบางแคยังคงเป็นท้องที่ปกครองของกิ่งอำเภอหนองแขมอยู่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 ทางการจึงโอนตำบลนี้มาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญโดยตรง เนื่องจากอยู่ใกล้กันและติดต่อกันได้สะดวกกว่า[4]
เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วน เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น[5] และขยายเขตออกไปในปี พ.ศ. 2501[6] และ พ.ศ. 2513[7]
จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[8] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515[9] โดยให้ยุบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลบางแคจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางแค ขึ้นกับเขตภาษีเจริญ ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่[10]
ในที่สุดจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 รวมกับพื้นที่แขวงหลักสองของสำนักงานเขตหนองแขมมาจัดตั้งเป็น เขตบางแค เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงแนวเขตและพื้นที่แขวงทั้งสี่ของเขตบางแคใหม่ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[11][12]
และเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงทั้งสี่ในเขตบางแคใหม่ เพื่อความสะดวกและความชัดเจนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552[13]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง คือ
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางแค | Bang Khae |
7.250
|
39,094
|
25,190
|
5,392.27
|
บางแคเหนือ | Bang Khae Nuea |
13.203
|
60,306
|
28,113
|
4,567.59
|
บางไผ่ | Bang Phai |
14.753
|
40,277
|
14,212
|
2,730.08
|
หลักสอง | Lak Song |
9.250
|
53,638
|
24,250
|
5,798.70
|
ทั้งหมด |
44.456
|
193,315
|
91,765
|
4,348.45
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางแค[14] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางแค ได้แก่
- ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางของเขต เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางแคจากคลองพระยาราชมนตรี แขวงบางแค ต่อเนื่องมาจากแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ และไปสิ้นสุดที่คลองทวีวัฒนา ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม ต่อไป
- ถนนกาญจนาภิเษก ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางของเขต เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางแคจากคลองบางเชือกหนัง เขตทวีวัฒนา และไปสิ้นสุดที่คลองบางโคลัด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน ต่อไป
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนพุทธมณฑล สาย 2
- ถนนพุทธมณฑล สาย 3 (เพชรเกษม 104)
- ถนนกัลปพฤกษ์
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|