Category Archives: ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งอยู่ใน เขตทวีวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที่
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตทวีวัฒนาตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางแคและเขตหนองแขม มีคลองบางเชือกหนัง คลองทวีวัฒนา และคลองบางไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามพรานและอำเภอพุทธมณฑล (จังหวัดนครปฐม) มีแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครปฐมและคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
เขตทวีวัฒนาตั้งชื่อตามคลองทวีวัฒนาซึ่งเป็นคลองที่มีความยาวมาก ไหลผ่านพื้นที่ของเขตในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ–ตะวันออกเฉียงใต้
ประวัติศาสตร์[แก้]
โดยเริ่มแรกนั้น ท้องที่เขตทวีวัฒนาอยู่ในการปกครองของอำเภอตลิ่งชันของจังหวัดธนบุรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลศาลาธรรมสพน์ (เดิมเรียกว่าตำบลศาลาทำศพ) เนื่องจากตำบลนี้มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกพื้นที่ 7 หมู่บ้านทางทิศใต้ของตำบลนี้ออกมาจัดตั้งเป็น ตำบลทวีวัฒนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500
ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลทวีวัฒนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทวีวัฒนา โดยขึ้นกับเขตตลิ่งชัน
ต่อมาท้องที่แขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์ (รวมกับท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางพรม และแขวงบางเชือกหนัง เฉพาะทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก) ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เขตทวีวัฒนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตตลิ่งชันและจัดตั้งเขตทวีวัฒนา มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตทวีวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[3] ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
ทวีวัฒนา | Thawi Watthana |
21.521
|
23,477
|
1,090.89
|
|
2.
|
ศาลาธรรมสพน์ | Sala Thammasop |
28.698
|
55,751
|
1,942.68
|
|
ทั้งหมด |
50.219
|
79,228
|
1,577.65
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตทวีวัฒนา[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตทวีวัฒนาได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองบางเชือกหนังถึงคลองมหาสวัสดิ์ (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่ต่างระดับฉิมพลีจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
- ถนนอุทยาน ตั้งแต่แยกอุทยานจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนพุทธมณฑล สาย 2
- ถนนพุทธมณฑล สาย 3
- ถนนทวีวัฒนา
- ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก
- ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
ส่วนถนนสายรอง ได้แก่
- ถนนศาลาธรรมสพน์
- ถนนสวนผัก
ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์
วัด[แก้]
- วัดปุรณาวาส
- วัดโกมุทพุทธรังสี
- วัดวิศิษฏ์บุญญาวาส
- วัดสุทธิจิตตาราม
- มูลนิธิหลวงพ่อเทียน แขวงทวีวัฒนา
- สถานปฏิบัติธรรมธุดงคสถาน (หมออุดม ธรรมวิมุติ) แขวงทวีวัฒนา
สถานพยาบาล[แก้]
- สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ถนนพุทธมณฑล สาย 4 แขวงทวีวัฒนา
- โรงพยาบาลธนบุรี 2 (โรงพยาบาลเอกชน) แขวงศาลาธรรมสพน์
- ศูนย์บริการสาธารณสุข มี 5 สาขา คือ
- สาขาศาลาธรรมสพน์ แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาตั้งพิรุฬห์ธรรม แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาพันธ์-วงษ์ สาทิม แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาแจ่ม-ดำ ควรชม แขวงทวีวัฒนา
- สาขาพลตรีบุษป์-ประดับโกมุท แขวงทวีวัฒนา
- ศูนย์ควบคุมสัตว์นำโรค แขวงศาลาธรรมสพน์
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนทวีวนารมย์และตลาดธนบุรี
- ถนนอุทยาน
- อุทยานแมวไทยตา 2 สี (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)
- พระตำหนักทวีวัฒนา
- พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)
- บ้านพิพิธภัณฑ์
- โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
- ที่ประสานงานชมรมรักถิ่นเขตทวีวัฒนา (โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่)
- สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 10 มกราคม 2566.