Category Archives: ถนนทวีวัฒนา

ถนนทวีวัฒนา

ถนนทวีวัฒนา (อักษรโรมันThanon Thawi Watthana) เป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างเขตหนองแขมกับเขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

แยกจากถนนเพชรเกษมในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม เลียบฝั่งตะวันตกของคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านใต้สะพานถนนพุทธมณฑล สาย 3

จากนั้นข้ามคลองบางไผ่เข้าพื้นที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ตัดกับถนนบางแวก ตัดกับถนนเลียบคลองปทุม ตัดกับถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกและถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4

จากนั้นข้ามคลองบางกระทึกเข้าพื้นที่แขวงศาลาธรรมสพน์ ตัดกับถนนอุทยาน ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้[1]

เขตทวีวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที่

LINE: @MKMETALSHEET; 087-808-7771

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตทวีวัฒนาตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

เขตทวีวัฒนาตั้งชื่อตามคลองทวีวัฒนาซึ่งเป็นคลองที่มีความยาวมาก ไหลผ่านพื้นที่ของเขตในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ–ตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์[แก้]

โดยเริ่มแรกนั้น ท้องที่เขตทวีวัฒนาอยู่ในการปกครองของอำเภอตลิ่งชันของจังหวัดธนบุรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลศาลาธรรมสพน์ (เดิมเรียกว่าตำบลศาลาทำศพ) เนื่องจากตำบลนี้มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกพื้นที่ 7 หมู่บ้านทางทิศใต้ของตำบลนี้ออกมาจัดตั้งเป็น ตำบลทวีวัฒนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500

ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลทวีวัฒนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทวีวัฒนา โดยขึ้นกับเขตตลิ่งชัน

ต่อมาท้องที่แขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์ (รวมกับท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางพรม และแขวงบางเชือกหนัง เฉพาะทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก) ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เขตทวีวัฒนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตตลิ่งชันและจัดตั้งเขตทวีวัฒนา มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[2]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตทวีวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[3] ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2565)
แผนที่
1.
ทวีวัฒนา Thawi Watthana
21.521
23,477
1,090.89
แผนที่
2.
ศาลาธรรมสพน์ Sala Thammasop
28.698
55,751
1,942.68
ทั้งหมด
50.219
79,228
1,577.65

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ถนนอุทยาน

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตทวีวัฒนาได้แก่

  1. ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองบางเชือกหนังถึงคลองมหาสวัสดิ์ (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
  2. ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่ต่างระดับฉิมพลีจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
  3. ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
  4. ถนนอุทยาน ตั้งแต่แยกอุทยานจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
  5. ถนนพุทธมณฑล สาย 2
  6. ถนนพุทธมณฑล สาย 3
  7. ถนนทวีวัฒนา
  8. ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก
  9. ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4

ส่วนถนนสายรอง ได้แก่

  1. ถนนศาลาธรรมสพน์
  2. ถนนสวนผัก

ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์

วัด[แก้]

  • วัดปุรณาวาส
  • วัดโกมุทพุทธรังสี
  • วัดวิศิษฏ์บุญญาวาส
  • วัดสุทธิจิตตาราม
  • มูลนิธิหลวงพ่อเทียน แขวงทวีวัฒนา
  • สถานปฏิบัติธรรมธุดงคสถาน (หมออุดม ธรรมวิมุติ) แขวงทวีวัฒนา

สถานพยาบาล[แก้]

  1. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ถนนพุทธมณฑล สาย 4 แขวงทวีวัฒนา
  2. โรงพยาบาลธนบุรี 2 (โรงพยาบาลเอกชน) แขวงศาลาธรรมสพน์
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุข มี 5 สาขา คือ
    1. สาขาศาลาธรรมสพน์ แขวงศาลาธรรมสพน์
    2. สาขาตั้งพิรุฬห์ธรรม แขวงศาลาธรรมสพน์
    3. สาขาพันธ์-วงษ์ สาทิม แขวงศาลาธรรมสพน์
    4. สาขาแจ่ม-ดำ ควรชม แขวงทวีวัฒนา
    5. สาขาพลตรีบุษป์-ประดับโกมุท แขวงทวีวัฒนา
  4. ศูนย์ควบคุมสัตว์นำโรค แขวงศาลาธรรมสพน์

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 10 มกราคม 2566.
Call Now Button