Category Archives: อำเภอสามโคก
อำเภอสามโคก
อำเภอสามโคก is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
อำเภอสามโคก เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
http://www.mkmetalsheet.com
MK Metalsheet Products Company Limited
https://roofing-contractor-622.business.site/?m=true
อำเภอสามโคก เป็นอำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุดของจังหวัดปทุมธานี มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่ากลางอำเภอ
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะอิน (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีคลองยายเข็ม คลองพระยาบรรลือ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองเชียงรากน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอคลองหลวง มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี ลำรางสาธารณะ คลองตาหลี คลองบางพูด คลองเชียงรากใหญ่ คลองแม่น้ำอ้อม แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางโพธิ์เหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้ว มีคลองบางโพธิ์เหนือ คลองบางเตย และคลองลัดวัดบ่อเงินเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอสามโคกเดิมเป็น “เมืองสามโคก” เพราะมีโคกโบราณอยู่ในเมือง 3 แห่ง เมืองสามโคกเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ปรากฏหลักฐานเมื่อหลังแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตั้งดั้งเดิมของเมืองสามโคกอยู่ที่บริเวณวัดพญาเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ใกล้ ๆ กับวัดป่างิ้ว) เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ. 2112 เมืองนี้ได้ร้างไป
จนถึงพ.ศ. 2203 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมิงเปอกับพรรคพวกมอญด้วยกัน 11 คน ได้พาครอบครัวมอญประมาณหมื่นคนอพยพหนีการกดขี่ของพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ “บ้านสามโคก” ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (บริเวณระหว่างวัดตำหนักกับวัดสะแก) ชุมชนมอญได้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จึงได้ตั้งเป็นเมืองขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดสิงห์และใช้ชื่อว่า เมืองสามโคก
การอพยพของชาวมอญที่ได้เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลังจากรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ได้มีการอพยพครั้งสำคัญอีกสองครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยมีพญาเจ่ง– ตะละเส่งกับพระยากลางเมืองเป็นหัวหน้า และในปีพ.ศ. 2358 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) โดยมีสมิงรามัญเมืองเมาะตะมะเป็นหัวหน้า ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่อพยพมากทั้งสองครั้งนี้ส่วนหนึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสามโคก และอีกส่วนหนึ่งให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด เมืองนนทบุรี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน)
ปรากฏหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรมหาเสนารักษ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรม ณ ที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเยื้องเมืองสามโคก (บริเวณวัดปทุมทองปัจจุบัน) ทรงรับดอกบัวหลวงจากชาวมอญที่นำมาทูลเกล้าฯ ถวายอย่างมากมาย และประกอบกับในครั้งนั้น เดือน 11 เป็นฤดูน้ำหลาก ดอกบัวบานสะพรั่งอยู่ทั่วไป ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่เพื่อให้เป็นสิริมงคลว่า เมืองประทุมธานี และยกฐานะขึ้นเป็นหัวเมืองชั้นตรี (ภายหลังเปลี่ยนการสะกดเป็น “ปทุมธานี”)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงตั้งเป็น อำเภอสามโคก ตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่ปากคลองบางเตยข้างเหนือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
เมื่อปี พ.ศ. 2524 นายสุนทร ศรีมาเสริม นายอำเภอสามโคกได้พิจารณาเห็นว่า อาคารที่ว่าการอำเภอสามโคกหลังเก่าเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2464 มีสภาพชำรุดทรุดโทรมและตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่คับแคบเนื่องจากถูกน้ำเซาะ ตลิ่งพังเหลือที่ดินน้อยมาก ยากแก่การป้องกัน จึงให้ดำเนินการย้ายไปสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอในที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (สามโคก-เสนา) เยื้องไปทางทิศใต้ในเขตตำบลบางเตย บนเนื้อที่ 7 ไร่เศษ ซึ่งนายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ร.ศ. 201 เวลา 11.56 น.
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
พื้นที่อำเภอสามโคกแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 11 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 58 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางเตย | (Bang Toei) | 10 หมู่บ้าน | 7. | บ้านปทุม | (Ban Pathum) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | คลองควาย | (Khlong Khwai) | 8 หมู่บ้าน | 8. | บ้านงิ้ว | (Ban Ngio) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | สามโคก | (Sam Khok) | 4 หมู่บ้าน | 9. | เชียงรากน้อย | (Chiang Rak Noi) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | กระแชง | (Krachaeng) | 3 หมู่บ้าน | 10. | บางกระบือ | (Bang Krabue) | 3 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | บางโพธิ์เหนือ | (Bang Pho Nuea) | 3 หมู่บ้าน | 11. | ท้ายเกาะ | (Thai Ko) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||||
6. | เชียงรากใหญ่ | (Chiang Rak Yai) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอสามโคกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเตย
- เทศบาลตำบลสามโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามโคกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางเตย) และตำบลคลองควายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระแชงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางโพธิ์เหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโพธิ์เหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปทุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปทุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านงิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระบือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายเกาะทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
ถนนที่ผ่านอำเภอสามโคก ถนนสายหลัก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก))
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ถนนปทุมธานี-บางปะหัน,ถนนบางปะหัน-ลพบุรี,ถนนปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111(ถนนปทุมธานี-สามโคก-เสนา)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
ถนนสายรอง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214(ถนนคลองหลวง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309
- ถนนเทศบาล1
- ถนนเทศบาล3
- 1
- 2