Category Archives: อำเภอธัญบุรี
อำเภอธัญบุรี
อำเภอธัญบุรี is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
อำเภอธัญบุรี [ทัน-ยะ-บุ-รี][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
ธัญบุรี [ทัน-ยะ-บุ-รี][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปจนสุดเขตจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญมากกว่าอำเภอเมืองปทุมธานี เนื่องจากเป็นทางผ่านของการคนนาคมไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเขตเทศบาลนคร 1 แห่ง เขตเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเขตเทศบาลตำบลอีก 1 แห่งในพื้นที่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอธัญบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคลองหลวงและอำเภอหนองเสือ มีแนวลำรางสาธารณะห่างจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ 1.6 กิโลเมตร เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก) มีคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา มีแนวเส้นขนานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศใต้ 1.6 กิโลเมตร เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอธัญบุรีนั้น เดิมอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ทุ่งหลวง” ของมณฑลกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาที่ดินในทุ่งหลวงให้เกิดประโยชน์แก่ประชาราษฎรด้วยการที่จะให้มีคลองขึ้นในบริเวณทุ่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขุดคลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 เป็นต้นมาและได้พระราชทานนามว่า “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมืองธัญญบูรี ขึ้น ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดที่ทำการเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 ธัญญบูรีมีฐานะเป็นเมืองจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2475 จึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
โดยคำว่า “ธัญญบูรี” หมายถึง “เมืองแห่งข้าว” เป็นพระนามพระราชทาน เพื่อให้สอดคล้องกับเมืองมีนบุรี (เขตมีนบุรี ในปัจจุบัน) ที่หมายถึง “เมืองแห่งปลา”
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ราชบัณฑิตยสถานได้เปลี่ยนการใช้ตัวสะกดใหม่ จึงเป็น “ธัญบุรี” มาจนถึงปัจจุบัน[2]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถึงปัจจุบัน (เรียงตามปี) มีการจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเทศบาลในอำเภอธัญบุรี ดังนี้
- วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ ในพื้นที่บางส่วนของตำบลประชาธิปัตย์ [3]
- วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลธัญบุรี ในพื้นที่บางส่วนของตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูด[4]
- วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2506 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ให้ครอบคลุมตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล[5]
- วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลธัญบุรีให้ครอบคลุมตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูดทั้งตำบล[6]
- วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2519 จัดตั้งสุขาภิบาลสนั่นรักษ์ ในพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ [7]
- วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ยกฐานะสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลธัญบุรี และ สุขาภิบาลสนั่นรักษ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลธัญบุรี และ เทศบาลตำบลสนั่นรักษ์
- วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ เป็น เทศบาลเมืองรังสิต [9]
- วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสนั่นรักษ์ เป็น เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ [10]
- วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองรังสิต เป็น เทศบาลนครรังสิต [11]
- วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลบึงยี่โถ เป็น เทศบาลเมืองบึงยี่โถ [12]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
พื้นที่อำเภอธัญบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 12 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2560) [13] |
ประชากรในเขตเทศบาล (พ.ศ. 2560) [13] |
---|---|---|---|---|
1. | ประชาธิปัตย์ (Prachathipat) |
– | 82,483 | 82,483 (ทน. รังสิต) |
2. | บึงยี่โถ (Bueng Yitho) |
4 | 31,891 | 31,891 (ทม. บึงยี่โถ) |
3. | รังสิต (Rangsit) |
4 | 24,735 | 24,735 (ทต. ธัญบุรี) |
4. | ลำผักกูด (Lam Phak Kut) |
4 | 37,185 | 37,185 (ทต. ธัญบุรี) |
5. | บึงสนั่น (Bueng Sanan) |
– | 12,260 | 12,260 (ทม. สนั่นรักษ์) |
6. | บึงน้ำรักษ์ (Bueng Nam Rak) |
– | 18,028 | 18,028 (ทม. สนั่นรักษ์) |
รวม | 12 | 206,582 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอธัญบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครรังสิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล (ทางรถไฟสายเหนือ-คลองสาม)
- เทศบาลเมืองบึงยี่โถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงยี่โถทั้งตำบล (คลองสาม-คลองห้า)
- เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ทั้งตำบล (คลองเก้า-คลองสิบสี่)
- เทศบาลตำบลธัญบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูดทั้งตำบล (คลองห้า-คลองเก้า)
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักของอำเภอธัญบุรี ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305)
ถนนสายรองของอำเภอธัญบุรี ได้แก่
- ถนนรังสิต-ปทุมธานี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346)
- ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3261 (ถนนเลียบคลองสิบ,ถนนคลองสิบ-หนองแค,ถนนปทุมธานี-สระบุรี)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ
- ศาลจังหวัดธัญบุรี
- วัดมูลจินดาราม
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
- บางกอกกล๊าส
- ดรีมเวิลด์
- วัดเขียนเขต
- ศาลจังหวัดธัญบุรี
- วิทยาลัยการปกครอง
- มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- องค์การเภสัชกรรม
- โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี
กค้า
อำเภอธัญบุรี MK Metalsheet PK122 อำเภอธัญบุรี MK Metals […]