Category Archives: อำเภอคลองหลวง
อำเภอคลองหลวง
อำเภอคลองหลวง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
อำเภอคลองหลวง เป็นอำเภอที่สำคัญอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี เพราะเป็นที่ตั้งขององค์กรสำคัญหลายแห่ง และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด รวมถึงมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัด รองจาก อำเภอหนองเสือ อำเภอคลองหลวง เป็นอำเภอเดียวของจังหวัดปทุมธานีที่ไม่มีเทศบาลตำบล
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะอินและอำเภอวังน้อย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีคลองเชียงรากน้อย ลำราง คลองหนึ่ง และคลองระพีพัฒน์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองเสือ มีคลองเจ็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอสามโคก มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ท้องที่อำเภอคลองหลวง แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เรียกว่า ทุ่งหลวง ต่อมา พ.ศ. 2446 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ได้ขุดคลองรังสิต และคลองซอยต่าง ๆ ราษฎรจึงพากันอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพในการทำนา ในที่สุดได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2447
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองหนึ่ง และ บางส่วนของตำบลคลองสอง [1]
- วันที่ 4 ธันวาคม 2516 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลคลองหลวง ให้ครอบคลุมทั้งหมดของตำบลคลองหนึ่ง และ ตำบลคลองสอง [2]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลคลองเจ็ด แยกออกจากตำบลคลองหก [3]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2539 จัดตั้งเทศบาลตำบลท่าโขลง โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองหลวง ในพื้นที่บางส่วนตำบลคลองหนึ่ง และ ตำบลคลองสอง (ฝั่งทางตอนเหนือของ ถนนคลองหลวง) [4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองหลวง เป็น เทศบาลตำบลคลองหลวง
- วันที่ 10 ตุลาคม 2544 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลท่าโขลง เป็น เทศบาลเมืองท่าโขลง [5]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอคลองหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งเป็น หมู่บ้าน รวม 106 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | คลองหนึ่ง | (Khlong Nueng) | เดิมชื่อตำบลท่าโขลง | มี 20 หมู่บ้าน | ||||||
2. | คลองสอง | (Khlong Song) | เดิมชื่อตำบลบางหวาย | มี 15 หมู่บ้าน | ||||||
3. | คลองสาม | (Khlong Sam) | เดิมชื่อตำบลบึงอ้ายเสียบ | มี 16 หมู่บ้าน | ||||||
4. | คลองสี่ | (Khlong Si) | เดิมชื่อตำบลบึงเขาย้อน | มี 16 หมู่บ้าน | ||||||
5. | คลองห้า | (Khlong Ha) | เดิมชื่อตำบลบึงจระเข้ | มี 16 หมู่บ้าน | ||||||
6. | คลองหก | (Khlong Hok) | เดิมชื่อตำบลบึงตะเคียน | มี 14 หมู่บ้าน | ||||||
7. | คลองเจ็ด | (Khlong Chet) | แยกจากตำบลคลองหก | มี 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอคลองหลวงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากเหนือของถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214)
- เทศบาลเมืองคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากใต้ของถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองห้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
อำเภอคลองหลวงมีถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ตัดผ่าน อันเป็นทางสำคัญในการเดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนถนนสายสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352) ถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214) ถนนสายรองที่สำคัญ ได้แก่ ถนนเลียบคลองสาม ถนนเลียบคลองห้า
รถประจำทาง[แก้]
- รถประจำทาง ขสมก. สาย 29 ม.ธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต)-หัวลำโพง (รถปรับอากาศ)
- รถประจำทาง ขสมก. สาย 39 ตลาดไท-อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถประจำทาง ขสมก. สาย 510 ม.ธรรมศาสตร์-อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
- รถประจำทาง ขสมก. สาย 520 ตลาดไท-แฮปปี้แลนด์-เดอะมอลล์บางกะปิ (รถปรับอากาศ)
- รถประจำทางสาย 187 ท่าน้ำสี่พระยา-รังสิตคลองสาม (รถปรับอากาศ)
- รถตู้โดยสาร ท่ารถตู้ต่างจังหวัด(ฝั่งตรงข้ามฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-รังสิตคลองสาม) (รถปรับอากาศ)
- รถประจำทางสาย 338 รังสิต-ประตูน้ำพระอินทร์ (รถปรัปอากาศ)
- รถประจำทางสาย 1008 รังสิต-หนองเสือ
สถานที่สำคัญ[แก้]
- อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (ประกอบไปด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์วิจัยแห่งชาติในสังกัด ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ,ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ,ศูนย์พันธุวิศวกรรมและพันธุวิศวกรรมชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และบริษัทเอกชนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
- พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ
- หอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
- หออัครศิลปิน
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและพิพิธภัณฑ์บัว
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพและพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- วัดพระธรรมกาย
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
- วัดบางขันธ์
- วัดปัญญานันทาราม
- นิคมอุตสาหกรรมนวนคร
- ตลาดไท
- โรงกษาปณ์ รังสิต
- สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
- ตลาดอัยรา
- มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย
- โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
- เทคโนธานี คลองห้า ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ อาคารอนุรักษ์พลังงาน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]