Category Archives: ตำบลหนองบอนแดง
ตำบลหนองบอนแดง
ตำบลหนองบอนแดง เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบลใน อำเภอบ้านบึง เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง และอำเภอพนัสนิคม
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบ้านบึงตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพานทองและอำเภอพนัสนิคม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ่อทองและอำเภอหนองใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองใหญ่และอำเภอศรีราชา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอศรีราชาและอำเภอเมืองชลบุรี
ประวัติ[แก้]
“บ้านบึง” มีการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะพื้นที่อำเภอบ้านบึง โดยทั่วไปเป็นป่าทึบนานาพรรณ มีต้นไม้ต่างๆ และสัตว์ป่านานาชนิดได้อาศัย มีชุมชนที่เป็นหมู่บ้านตั้งเรียงรายกันเป็นระยะๆ ห่างไกลกันพอสมควร และมีอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืชไร่ จับสัตว์ป่ายังชีพ พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึงในปัจจุบัน เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง โดยทั่วไปมีชาวบ้านเรียกกันว่า “มาบ” เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ชุมชนดังเดิมได้ใช้สอยมาตลอด และสายน้ำไหลมาจากภูเขานั้นก็ไหลไปยังอำเภอพานทองอีกสายหนึ่ง
แหล่งถิ่นฐานชุมชนดั้งเดิมคือ บริเวณหน้าลำมาบ (บริเวณตั้งแต่หน้าวัดบุญญฤทธยาราม มาจนถึงบริเวณวัดบึงบวรสถิตย์) และเริ่มมีตลาดบึงเป็นแหล่งชุมชน ในปี พ.ศ. 2462 อำเภอบ้านบึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบ้านบึงในปี พ.ศ. 2464 และในปี พ.ศ. 2481 นายอำนาจ เนื่องจำนงค์ คหบดีสมัยนั้นได้เป็นผู้นำในการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ โดยเสนอต่อทางการว่าขอยกที่ดินของนางเทศ กาญจนพังคะ ซึ่งเป็นมารดาของภรรยา เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและสถานที่ราชการต่างๆ พร้อมกันสร้างที่ว่าการอำเภอให้อีก 1 หลัง โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทยที่ว่าการอำเภอบ้านบึง สมัยนั้นเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยามุขกลางมีบันไดขึ้นทั้ง 2 ข้าง เริ่มก่อสร้างและเสร็จ พ.ศ. 2481 และใช้ในราชการตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ต่อมาปี พ.ศ. 2529 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช ดำรงตำแหน่งนายอำเภอบ้านบึง ได้เชิญชวนคหบดีและชาวอำเภอบ้านบึง ช่วยกันสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เริ่มก่อสร้างในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็นที่ว่าการอำเภอหลังเดียวในประเทศไทยที่มีแบบแปลนพิเศษต่างจากที่อื่น มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ขนาด 19 x 34 x 17 เมตร
- วันที่ 8 พฤษภาคม 2464 แยกพื้นที่ตำบลบึง ตำบลมาบไผ่ ตำบลหนองซ้ำซาก และตำบลคลองกิ่ว จากอำเภอบางปลาสร้อย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านบึง[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบางปลาสร้อย (อำเภอเมืองชลบุรี)
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2481 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี เป็น อำเภอบ้านบึง[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบ้านบึงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ้านบึง | (Ban Bueng) | 5 หมู่บ้าน | |||||
2. | คลองกิ่ว | (Khlong Kio) | 9 หมู่บ้าน | |||||
3. | มาบไผ่ | (Map Phai) | 6 หมู่บ้าน | |||||
4. | หนองซ้ำซาก | (Nong Samsak) | 5 หมู่บ้าน | |||||
5. | หนองบอนแดง | (Nong Bon Daeng) | 6 หมู่บ้าน | |||||
6. | หนองชาก | (Nong Chak) | 4 หมู่บ้าน | |||||
7. | หนองอิรุณ | (Nong Irun) | 12 หมู่บ้าน | |||||
8. | หนองไผ่แก้ว | (Nong Phai Kaeo) | 5 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบ้านบึงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–4 (ในเขตเทศบาลยกเลิกระบบหมู่บ้านแล้ว)
- เทศบาลตำบลหัวกุญแจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1
- เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่แก้ว เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 2, 5
- เทศบาลตำบลหนองชาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองชากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองซ้ำซาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองซ้ำซากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะหมู่ที่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–4
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว เฉพาะหมู่ที่ 2–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1
- องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอนแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอิรุณทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่แก้ว เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 2,