Category Archives: เขตสายไหม
เขตสายไหม
เขตสายไหม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเขตคลองสามวา ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตสายไหมตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีถนนลำลูกกา แนวรั้วหมู่บ้านการ์เด้นโฮมวิลเลจ คลองสอง และคลองหกวาสายล่างเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) และเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองออเป้ง (บึงพระยาสุเรนทร์) คลองหนองบัวมน คลองหนองตะแคง คลองหนองจอก และคลองหนองผักชี (ลำผักชี) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดอนเมือง มีถนนพหลโยธินเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
“สายไหม” เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี[3] ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ตำบลสายไหม จนกระทั่งใน พ.ศ. 2484 ทางการได้โอนตำบลสายไหมมาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและราชการทหาร[4] ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่บางหมู่บ้านทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตำบลสายไหมไปตั้งเป็นตำบลออเงินเมื่อ พ.ศ. 2490[5] และขยายเขตสุขาภิบาลอนุสาวรีย์ให้ครอบคลุมมาถึงสองตำบลนี้เมื่อ พ.ศ. 2506[6]
ครั้นใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรีและเปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] ต่อมาใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสายไหมเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสายไหม อยู่ในการปกครองของเขตบางเขน
ภายหลังในพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม สาธารณูปโภค รวมทั้งมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน แยกพื้นที่ 3 แขวงทางตอนเหนือของเขตมาจัดตั้งเป็น เขตสายไหม ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และกรุงเทพมหานครได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองถนนเพื่อความชัดเจนในการปกครองเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยประกาศทั้งสองฉบับให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน เป็นต้นไป[9][10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตสายไหมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
สายไหม | Sai Mai |
18.659
|
80,663
|
4,323.01
|
|
2.
|
ออเงิน | O Ngoen |
13.516
|
42,925
|
3,175.87
|
|
3.
|
คลองถนน | Khlong Thanon |
12.440
|
85,340
|
6,860.13
|
|
ทั้งหมด |
44.615
|
208,928
|
4,682.91
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสายไหม[11] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนสายไหม (สุขาภิบาล 5)
- ถนนสุขาภิบาล 5 (รัตนโกสินทร์สมโภช)
- ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน–รัตนโกสินทร์สมโภช)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีสะพานใหม่ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ และ สถานีแยก คปอ.)
- ทางสายรอง
- ถนนวัชรพล
- ถนนเฉลิมพงษ์ (สายไหม–ลำลูกกา)
- ถนนจตุโชติ
- ถนนจันทรุเบกษา
- ถนนเพิ่มสิน
- ถนนเลียบคลองสอง (พหลโยธิน 54/1)
- ซอยพหลโยธิน 52 (ทหารอากาศ)
- ซอยพหลโยธิน 54/1 แยก 4 (วัดเกาะ)
- ซอยพหลโยธิน 54/4 (กู้เกียรติ)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ประตูกรุงเทพ พลาซ่า
- ตลาดทรัพย์เจริญ
- ตลาดออเงิน
- ตลาดสวัสดิการทหารอากาศ
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา
- สวนน้ำสายไหม
- ตลาดนัดวงศกร
- สนามสายไหมฟุตบอลคลับ
- ตลาดเทพทิพย์ (ขำสนิทพัฒน์)
- วัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์ฯ)
- วัดหนองใหญ่