Category Archives: เขตสวนหลวง
เขตสวนหลวง
เขตสวนหลวง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางข้างหมู่บ้านเอื้อสุข คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) คลองบ้านหลาย ลำราง คลองสวนอ้อย คลองขวางบน และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีน คลองพระโขนง และคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร[2] โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2506[3] จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2508[4]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 (สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง[7] และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย[8] เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่ จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน[7] สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง[9]
จนกระทั่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงอ่อนนุชและแขวงพัฒนาการแยกจากพื้นที่แขวงสวนหลวง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสวนหลวงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[12] ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
สวนหลวง | Suan Luang |
9.251
|
48,494
|
5,242.03
|
|
2.
|
อ่อนนุช | On Nut |
5.894
|
43,509
|
7,381.91
|
|
3.
|
พัฒนาการ | Phatthanakan |
8.533
|
30,673
|
3,594.63
|
|
ทั้งหมด |
23.678
|
122,676
|
5,181.01
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสวนหลวง[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- รถไฟฟ้า
- ทางสายหลัก
- ถนนมอเตอร์เวย์
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนพระราม 9
- ถนนพัฒนาการ
- ถนนรามคำแหง
- ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
- ถนนอ่อนนุช
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
- วัดมหาบุศย์
- ตลาดเอี่ยมสมบัติ
- วัดปากบ่อ
- วัดใต้
- วัดยาง
- วัดทองใน
- วัดต้นไทรย์
- วัดขจรศิริ (วัดขอม)
- ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน