Category Archives: เขตบางกะปิ
เขตบางกะปิ
เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้) มีย่านที่สำคัญคือ ย่านบางกะปิ
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม มีถนนประดิษฐ์มนูธรรม คลองเกรียง คลองอ้ายหลาว คลองลำเจียก และคลองตาหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตสะพานสูง มีคลองตาหนัง คลองลำพังพวย ถนนนวมินทร์ ถนนศรีบูรพา คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 2 คลองวังใหญ่บน คลองโคลัด และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ คลองหัวหมาก และคลองกะจะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวางและเขตวังทองหลาง มีคลองแสนแสบ คลองจั่น ถนนลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) คลองลำพังพวย คลองจั่น และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อ[แก้]
ที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้นมีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก บ้างว่า มาจากชื่อหมวก “กะปิเยาะห์” ของชาวมุสลิม เนื่องจากพื้นที่นี้มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก ซึ่งการแต่งกายของชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะสวมหมวกคลุมหัว[3]
ประวัติ[แก้]
พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม
เมื่อมีผู้คนอาศัยหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งใน พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท
ในช่วง พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาใน พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)
เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่มใน พ.ศ. 2532 และรวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลางใน พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
คลองจั่น | Khlong Chan |
12.062
|
74,463
|
6,173.35
|
|
8.
|
หัวหมาก | Hua Mak |
16.461
|
67,026
|
4,071.81
|
|
ทั้งหมด |
28.523
|
141,489
|
4,960.52
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตวังทองหลาง เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตสะพานสูง และเขตคันนายาว
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกะปิ[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนรามคำแหง
- ถนนพระราม 9
- ถนนนวมินทร์
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนเสรีไทย
- ซอยรามคำแหง 39
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางสายรองและทางลัด
- ถนนแฮปปี้แลนด์
- ถนนกรุงเทพกรีฑา
- ถนนหัวหมาก
- ถนนโพธิ์แก้ว
- ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
- ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
- ซอยรามคำแหง 24
- ทางราง
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง)
- ทางน้ำ
- คลองแสนแสบ
- คลองลาดพร้าว
สถานที่สำคัญ[แก้]
สถานศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเทพลีลา
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- โรงเรียนบางกะปิ
- โรงเรียนบ้านบางกะปิ
- โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกะปิ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ
สนามกีฬา[แก้]
- ราชมังคลากีฬาสถาน
- ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย
ศาสนสถาน[แก้]
ศูนย์การค้า[แก้]
- เดอะมอลล์บางกะปิ
- โลตัส (ห้างสรรพสินค้า) สาขาบางกะปิ
- บิ๊กซี สาขาหัวหมาก, สาขาสุขาภิบาล 3
- สยามแม็คโคร สาขาลาดพร้าว, สาขารามคำแหง 24
อื่น ๆ[แก้]
- พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
- การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย)
- สวนพฤษกชาติ การเคหะแห่งชาติ
- ตลาดแฮปปี้แลนด์
- โรงพยาบาลรามคำแหง