Category Archives: แขวงอรุณอมรินทร์
แขวงอรุณอมรินทร์
แขวงอรุณอมรินทร์ เป็นแขวงหนึ่งใน 5 แขวง ใน เขตบางกอกน้อย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า “สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา”
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางกอกน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางพลัด มีถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางขุนศรี คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลใน พ.ศ. 2458
จากนั้นใน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็น อำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[2] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[3] ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น “เขต” และตำบลเป็น “แขวง” ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย
ใน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้น
ใน พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโอนพื้นที่เขตบางพลัดเฉพาะฝั่งใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางกอกน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
4.
|
ศิริราช | Siri Rat |
1.258
|
12,729
|
10,118.44
|
|
5.
|
บ้านช่างหล่อ | Ban Chang Lo |
2.076
|
27,380
|
13,188.83
|
|
6.
|
บางขุนนนท์ | Bang Khun Non |
1.492
|
10,498
|
7,036.19
|
|
7.
|
บางขุนศรี | Bang Khun Si |
4.360
|
30,356
|
6,962.39
|
|
9.
|
อรุณอมรินทร์ | Arun Ammarin |
2.758
|
18,766
|
6,804.21
|
|
ทั้งหมด |
11.944
|
99,729
|
8,355.58
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางพลัด
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกอกน้อย[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ได้แก่
- ถนนจรัญสนิทวงศ์
- ถนนพรานนก
- ถนนวังหลัง
- ถนนอิสรภาพ
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
- ถนนบรมราชชนนี
- ถนนบางขุนนนท์
- ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนสุทธาวาส
- ถนนรถไฟ
- ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้
- ถนนรุ่งประชา
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 22 (ราษฎร์ศรัทธา) และซอยอิสรภาพ 37
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 28 / ซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก)
- ซอยจรัญสนิทวงศ์ 35 (วัดมะลิ)
- ซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา)
สะพาน[แก้]
- สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตพระนคร
ทางน้ำ[แก้]
-
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบางกอกน้อย
- คลองชักพระ
- คลองมอญ
แขวงอรุณอมรินทร์ แผ่นใส ใสกระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย แขวงอ […]