Category Archives: แขวงสีกัน
แขวงสีกัน
แขวงสีกัน เป็นแขวงๆหนึ่งอยู่ใน เขตดอนเมือง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ เขตดอนเมืองมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 11 ของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
เขตดอนเมืองตั้งอยู่ทางเหนือสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีคลองบ้านใหม่ คลองเปรมประชากร ซอยเลียบคลองเปรมฯ 6 (เผ่าบุญธรรม) แนวเส้นตรงผ่านแนวรั้วบริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำกัด แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง แนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร และแนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสายไหมและเขตบางเขน มีถนนพหลโยธินและคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร และคลองตาอูฐเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติและที่มาของชื่อ[แก้ไขต้นฉบับ]
ดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่ราบสูงน้ำท่วมไม่ถึง อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เดิมเป็นพื้นที่ป่าสะแกและทุ่งนา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น ช้าง เป็นต้น เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า ดอนอีเหยี่ยว เนื่องจากมีนกเหยี่ยวและนกแร้งอาศัยหากินอยู่เป็นจำนวนมาก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ราว 50 หลังคาเรือน โดยมากจะอาศัยอยู่ตามริมท่าอากาศยานดอนเมืองในปัจจุบัน และริมคลองเปรมประชากร การคมนาคมมีแต่เพียงทางรถไฟที่จะเข้ากรุงเทพมหานคร หรือออกไปสู่ต่างจังหวัดเท่านั้น
ต่อมาใน พ.ศ. 2469 ทางการได้พิจารณาจัดตั้งกองการบิน สังกัดกองทัพบกขึ้น ซึ่งภายหลังได้ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ พร้อมทั้งได้ขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อจากดอนอีเหยี่ยวเป็น ดอนเมือง โดยอยู่ในฐานะตำบลดอนเมืองและต่อมาเป็นตำบลตลาดบางเขน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[2]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางเขนได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตบางเขน ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้รวมแขวงสีกัน แขวงทุ่งสองห้อง และแขวงตลาดบางเขนจัดตั้ง เขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จากนั้นก็ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้งเขตหลักสี่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ทำให้แขวงตลาดบางเขนถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่แยกไปรวมกับเขตหลักสี่กับส่วนที่ยังอยู่ในเขตดอนเมือง ต่อมากรุงเทพมหานครจึงประกาศจัดตั้งแขวงสีกันเต็มพื้นที่เขตดอนเมือง โดยรวมพื้นที่แขวงตลาดบางเขนเดิมเข้าไว้ด้วยเพื่อความชัดเจนในการปกครอง
เนื่องด้วยยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน ทำให้เกิดความสับสน แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรุงเทพมหานครจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมืองและแขวงสนามบินขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2552[3]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[4] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตดอนเมืองแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
2.
|
สีกัน | Si Kan |
11.534
|
63,707
|
5,523.41
|
|
4.
|
ดอนเมือง | Don Mueang |
10.605
|
80,531
|
7,593.68
|
|
5.
|
สนามบิน | Sanambin |
14.664
|
22,051
|
1,503.75
|
|
ทั้งหมด |
36.803
|
166,289
|
4,518.36
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตหลักสี่
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดอนเมือง[5] |
---|
การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]
ในพื้นที่เขตดอนเมืองมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่คลองถนนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ บริษัทดอนเมืองพัฒนาจำกัด และแยกลำลูกกา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากรุงเทพมหานครและหมู่บ้านวังทอง (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ทางยกระดับอุตราภิมุข ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึง อนุสรณ์สถานแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากรุงเทพมหานครและหมู่บ้านวังทองสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนสรงประภา ตั้งแต่แยกวัดดอนเมืองจนถึงแยกศรีสมาน (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
ถนนสายรองในพื้นที่ได้แก่
- ถนนกำแพงเพชร 6
- ถนนเชิดวุฒากาศ
- ถนนช่างอากาศอุทิศ
- ถนนเลียบคลองประปา
- ถนนสรณคมน์
- ถนนประชาอุทิศ
- ถนนโกสุมรวมใจ
- ถนนวัดเวฬุวนาราม
- ถนนนาวงประชาพัฒนา
- ถนนเดชะตุงคะ
- ถนนเทิดราชัน (เลียบคูนายกิม สาย 1)
- ถนนจันทรุเบกษา
- ถนนธูปเตมีย์
ทางน้ำมีคลองถนน คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร คลองตาอูฐ
สถานศึกษา[แก้ไขต้นฉบับ]
- โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
- โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
- โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง
- โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์
- โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์ศึกษา
- โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์)
- โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
- โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
- โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด – เกษมสงเคราะห์)
- โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
- โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
- โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์เพ็ญ – สุวรรณอนุสรณ์)
- โรงเรียนธนินทรวิทยา
- วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง