คลองสาน เหล็กกล่อง ซิ้งค : เหล็กกล่องดำ คลองสาน เหล็กกล […]
Category Archives: กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่สุดในโลก” เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขต[แก้]
รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร กรุงเทพมหานคร[46] |
|
---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร |
2550 | 5,716,248 |
2551 | 5,710,883 |
2552 | 5,702,595 |
2553 | 5,701,394 |
2554 | 5,674,843 |
2555 | 5,673,560 |
2556 | 5,686,252 |
2557 | 5,692,284 |
2558 | 5,696,409 |
2559 | 5,686,646 |
2560 | 5,682,415 |
ปี พ.ศ. 2558 เขตสายไหม เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ เขตบางแค มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 197,715 ราย
ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก[47] ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก
เศรษฐกิจ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[48]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร[49] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[50]
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[51] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[52]
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[53] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[49] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[54]
ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[55]
พลังงาน[แก้]
ในปี พ.ศ. 2555 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแรกของประเทศไทยที่เปิดสถานีพลังงานสีเขียว โดยใช้พลังงานทดแทนโดยความร่วมมือจากบริษัท บางจากปิโตรเลียม[56]
การศึกษา[แก้]
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชนตั้งอยู่ในหรือรอบ ๆ เมืองหลวง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514[57] เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ อีกมากมายในเขตเมือง วิทยาลัยอาชีวและวิทยาลัยเทคนิคก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในปีที่ผ่านมา สถาบันเอกชนจำนวนมากได้ริเริ่มจัดตั้งโปรแกรมการแลกเปลี่ยนและหลักสูตรสองปริญญากับสถาบันจากตะวันตกขึ้นในกรุงเทพ การเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงเรียนที่มีหลักสูตรนานาชาติได้ช่วยยกระดับมาตรฐานการแข่งขันของสถาบันของรัฐให้สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกสองแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร อีก 1 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
สาธารณสุข[แก้]
ปี พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลตามกฎหมาย 147 แห่งในจำนวนนี้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม 3 แห่ง กรุงเทพมหานครยังมีศูนย์การแพทย์อีกหลายแห่ง ซึ่งรวมสถาบันแพทยศาสตร์ 8 แห่งจาก 15 แห่งของประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร เป็นระดับตติยภูมิ ซึ่งรับการส่งต่อโรคที่ต้องการวิธีรักษาที่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลรัฐ 33 แห่ง ในจำนวนนี้สังกัดกรุงเทพมหานคร 11 แห่งสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง[58] มีโรงพยาบาลเอกชน 107 แห่ง[58] ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลระดับนานาชาติ โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคือ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และทั้ง 3 แห่งได้การรับรองจากคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
ด้านโรงพยาบาลรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานครมีทั้งหมดอย่างน้อย 34 แห่ง ด้านการเสริมสร้างสาธารณสุขกรุงเทพมหานครได้มีศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน[59] ไว้บริการประชาชน
สาธารณภัย[แก้]
การสาธารณภัยในกรุงเทพมหานครเริ่มอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยได้มีการจัดตั้งสถานีดับเพลิงบางรัก ในซอยเจริญกรุง 36 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ไปรษณีย์บางรัก โดยอาคารดังกล่าว สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2433 ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถานีดับเพลิง 35 แห่ง[60]ภายใต้การควบคุมของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมี พ.ต.ท.สมเกียรติ นนทแก้ว[61]เป็นผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร และมี นาย ธีรยุทธ์ ภูมิภักดิ์ และ ดร.ประยูร ครองยศ เป็นรองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
ดอนพุทรา แผ่นใสขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ดอนพุทรา แผ่นใ […]
ซ่อมช่วงล่าง ตลิ่งชัน ซ่อมช่วงล่าง ตลิ่งชัน ที่ เอ็มเค […]
ซ่อมช่วงล่าง เขตบางบอน ซ่อมช่วงล่าง เขตบางบอน ที่ เอ็มเ […]
เขตดุสิต กดไลค์ให้เรา LK167 เขตดุสิต กดไลค์ให้เรา LK167 […]
เขตบางคอแหลม MK Metalsheet PK141 เขตบางคอแหลม MK Metals […]
บางขุนเทียน หลังคาโค้ง บางขุนเทียน หลังคาโค้ง เอ็มเค เม […]
ตลิ่งชัน ทำห้องเก็บของ ตลิ่งชัน ทำห้องเก็บของ เอ็มเค เม […]
หนองแขม ทำหลังคากันสาด หนองแขม ทำหลังคากันสาด เอ็มเค เม […]
ทุ่งครุ ยกนิ้วให้เรา LK166 ทุ่งครุ ยกนิ้วให้เรา LK166 เ […]