เขตราชเทวี MK Metalsheet PK111 เขตราชเทวี MK Metalsheet […]
Category Archives: เขตราชเทวี
เขตราชเทวี
เขตราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตราชเทวีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิด ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เตนท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[3] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[4] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[5]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
ทุ่งพญาไท | Thung Phaya Thai |
2.559
|
26,863
|
10,497.46
|
|
2.
|
ถนนพญาไท | Thanon Phaya Thai |
1.136
|
9,662
|
8,505.28
|
|
3.
|
ถนนเพชรบุรี | Thanon Phetchaburi |
1.148
|
13,953
|
12,154.18
|
|
4.
|
มักกะสัน | Makkasan |
2.283
|
15,801
|
6,921.16
|
|
ทั้งหมด |
7.126
|
66,279
|
9,301.01
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตราชเทวี[6] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนบรรทัดทอง ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงทางแยกเพชรพระราม
- ถนนพญาไท ตั้งแต่สะพานหัวช้างถึงแยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกอโศก–เพชรบุรี
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกมักกะสัน
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนราชดำริ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกประตูน้ำ
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่ทางแยกประตูน้ำถึงทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนชิดลม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกชิดลม–เพชรบุรี
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกวิทยุ–เพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกอโศก–เพชรบุรี
- ถนนอโศก-ดินแดง ตั้งแต่ทางแยกอโศก–เพชรบุรีถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนพหลโยธิน
ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจนถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนจตุรทิศ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช
ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตยังมีทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายตะวันออกตัดผ่าน รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานด้วย
ในส่วนรถไฟ ในพื้นที่เขตมีสถานีรถไฟมักกะสันซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ใกล้กับโรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในส่วนรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และมีสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน สถานีพญาไท และสถานีราชปรารภ โดยในอนาคตจะมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพิ่มเติมอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีรางน้ำ ราชปรารภ ประตูน้ำ และราชเทวี
ส่วนการสัญจรทางน้ำ ในพื้นที่เขตมีคลองแสนแสบเป็นคลองเขตแดนทางทิศใต้ของเขต ในอดีตท่าเรือที่บริเวณประตูน้ำเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางน้ำที่มาทางเรือตามคลองแสนแสบที่เคยคึกคักมาก ในปัจจุบันการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอันเป็นจุดชุมทางสำคัญที่มีรถประจำทางผ่านหลายสายและยังเป็นจุดผ่านของรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตราชเทวี นอกจากนั้นในบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังมีท่ารถตู้จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วย
- 1
- 2