Category Archives: แขวงถนนพญาไท
แขวงถนนพญาไท.
แขวงถนนพญาไท เป็น แขวงๆหนึ่งใน 4 แขวงของ เขตราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เขตราชเทวี
|
|
---|---|
คำขวัญ: นามราชเทวีศรีสง่า ล้ำคุณค่าวังพญาไท อนุสาวรีย์ชัยฯ ทหารหาญ ศิลปะโบราณ วังสวนผักกาด เด่นผงาดใบหยกตึกระฟ้า งามจับตาผ้าไหมที่บ้านครัว |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′32″N 100°32′04″E | |
อักษรไทย | เขตราชเทวี |
อักษรโรมัน | Khet Ratchathewi |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 7.126 ตร.กม. (2.751 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 72,568[1] คน |
• ความหนาแน่น | 10,183.55 คน/ตร.กม. (26,375.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10400 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1037 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 10 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/ratchathewi/ |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขตตั้งตามสี่แยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อ สะพานพระราชเทวี ซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี
โดยคำว่า “พระราชเทวี” ตั้งตามพระนาม พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทยกฐานะขึ้นเป็นเขตพญาไท ตำบล 4 ตำบลดังกล่าวจึงมีฐานะเป็นแขวง
ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่แขวง 4 แขวงดังกล่าวซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย
ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งปิดล้อมพื้นที่โดยรอบแยกราชประสงค์ ถนนราชปรารภก็กลายเป็นสมรภูมิ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 19 พฤษภาคม 2553 มีประชาชนถูกยิงเสียชีวิตรวม 23 คนตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ราชปรารภ ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนที่มีพยานหลักฐานและคำสั่งศาลยืนยันว่าเป็นฝีมือของทหารที่ประจำการในบริเวณนั้น[2] และในวันที่ 19 พฤษภาคมซึ่งมีการสลายการชุมนุมก็มีการเผาทำลายอาคารบริเวณย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสียหาย
19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิด ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เตนท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[3] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[4] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[5]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
ทุ่งพญาไท | Thung Phaya Thai |
2.559
|
32,498
|
10,407
|
12,699.49
|
ถนนพญาไท | Thanon Phaya Thai |
1.136
|
9,538
|
11,621
|
8,396.12
|
ถนนเพชรบุรี | Thanon Phetchaburi |
1.148
|
14,685
|
11,607
|
12,791.81
|
มักกะสัน | Makkasan |
2.283
|
15,847
|
18,406
|
6,941.30
|
ทั้งหมด |
7.126
|
72,568
|
52,041
|
10,183.55
|