Category Archives: ถนนราชวิถี
ถนนราชวิถี
ถนนราชวิถี is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the administration region name in category.
ถนนราชวิถี เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งใน เขตบางพลัด
|
เขต บางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้] เขต บางพลัด
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้] เขต บางพลัด
เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
โดยชื่อ “บางพลัด” หมายถึง การพลัดหลง หรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 แก่พม่า เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ ได้เกิดการพลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง[2] ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น “บางภัทร์” ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด[3]
แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งว่าอาจจะมาจากภาษามลายูคำว่า “palas” (ออกเสียง ปาลัส) ซึ่งหมายถึง ต้นกะพ้อ ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์ม มักขึ้นในที่ลุ่ม ใบใช้ทำขนมต้ม ขนมโบราณของไทยและชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ใกล้เคียง[4]
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้ทีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัด โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น[5]
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขต บางพลัด กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด
และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยตัดพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขัน เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางพลัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2560) |
จำนวนบ้าน (พฤษภาคม 2560) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2560) |
---|---|---|---|---|---|
บางพลัด | Bang Phlat |
3.296
|
23,751
|
9,123
|
7,206.00
|
บางอ้อ | Bang O |
2.846
|
24,881
|
13,534
|
8,742.44
|
บางบำหรุ | Bang Bamru |
2.332
|
18,746
|
13,051
|
8,038.59
|
บางยี่ขัน | Bang Yi Khan |
2.886
|
24,947
|
13,478
|
8,644.14
|
ทั้งหมด |
11.360
|
92,325
|
49,186
|
8,127.20
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางพลัด[6] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมระหว่างสี่แยกบรมราชชนนีกับสะพานพระราม 7
- ถนนสิรินธร เชื่อมระหว่างทางแยกต่างระดับสิรินธรกับสี่แยกบางพลัด
- ถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างสี่แยกบางพลัดกับสะพานกรุงธน
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ทางขนานขาเข้า)
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างสี่แยกอรุณอมรินทร์กับสะพานพระราม 8
- ทางพิเศษศรีรัช เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
- สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวยเข้ากับเขตบางซื่อ
- สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟเชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตบางซื่อ
- สะพานกรุงธน เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตดุสิต
- สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตพระนคร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สะพานพระราม 8
- สะพานกรุงธน
- บ้านบางยี่ขัน
- แขวงทางหลวงธนบุรี
- หมวดทางหลวงตลิ่งชัน
- ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสนสถาน[แก้]
วัด[แก้]
เขตบางพลัดมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก จึงมีการสร้างวัดเป็นจำนวนไม่น้อย แบ่งเป็นวัด 23 วัด
|
|
มัสยิด[แก้]
- มัสยิดบางอ้อ
- มัสยิดดารุลอิหซาน
ศาลเจ้า[แก้]
- ศาลเจ้าปุงเท่ากง
- ศาลเจ้าพ่อเสือ
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น↑ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2561.
- กระโดดขึ้น↑