Category Archives: โรงพยาบาลนครธน
โรงพยาบาลนครธน
โรงพยาบาลนครธน is position for the activity in post to be presented at the first rank on Google page that search by address the keyphrase in category.
โรงพยาบาลนครธน เป็นโรงพยาบาลแห่งหนึ่งอยู่ไหน เขตบางขุนเทียน
เขตบางขุนเทียน
|
|
---|---|
คำขวัญ: หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′39″N 100°26′9″E | |
อักษรไทย | เขตบางขุนเทียน |
อักษรโรมัน | Khet Bang Khun Thian |
พื้นที่ (2540) | |
• ทั้งหมด | 120.687 ตร.กม. (46.598 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 185,824[1] |
• ความหนาแน่น | 1,539.71 คน/ตร.กม. (3,987.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1021 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 164 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 |
เว็บไซต์ | www.bangkok.go.th/ bangkhunthian |
เขตบางขุนเทียน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย คลองวัดสิงห์ คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา คลองหัวกระบือ และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลพันท้ายนรสิงห์และตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองบางเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
มีคำบอกเล่าว่า ย่านบางขุนเทียน (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจอมทอง) เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อบางขุนเทียนมาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวงที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางขุนเทียน เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ
ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางขุนเทียนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
ท่าข้าม | Tha Kham |
84.712
|
59,998
|
29,709
|
708.25
|
แสมดำ | Samae Dam |
35.975
|
125,826
|
60,308
|
3,497.59
|
ทั้งหมด |
120.687
|
185,824
|
90,017
|
1,539.71
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางขุนเทียน[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่คลองบางมด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางมด เขตทุ่งครุต่อไป
- ถนนพระรามที่ 2 เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากคลองวัดกก แขวงท่าข้าม ต่อเนื่องมาจากแขวงบางมด เขตจอมทอง และไปสิ้นสุดที่เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่ท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครต่อไป
- ถนนบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขต เข้าสู่ท้องที่เขตจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2
- ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของเขต เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ และไปสิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์ซึ่งตัดออกสู่ท้องที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ส่วนถนนสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
วัด[แก้]
แขวงท่าข้าม[แก้]
- วัดกก
- วัดท่าข้าม
- วัดธรรมคุณาราม (หลวงพ่อเต่า)
- วัดบัวผัน
- วัดปทีปพลีผล
- วัดประชาบำรุง (วัดลูกวัว)
- วัดเลา
- วัดหัวกระบือ
แขวงแสมดำ[แก้]
- วัดกำแพง
- วัดแทนวันดีเจริญสุข
- วัดแทนวันดีสุขาราม
- วัดบางกระดี่
- วัดพรหมรังสี
- วัดสะแกงาม
- วัดสุธรรมวดี
- วัดแสมดำ
สถานศึกษา[แก้]
มหาวิทยาลัย[แก้]
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1[แก้]
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
- โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน
- โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี