Category Archives: ถนนจอมทองบูรณะ
ถนนจอมทองบูรณะ
ถนนจอมทองบูรณะ เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งอยู่ใน เขตจอมทอง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตจอมทองตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้นเนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดใน พ.ศ. 2508 และ ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแบ่งพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง
ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต
ลักษณะทางกายภาพ[แก้]
ลักษณะภูมิประเทศของเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด ในอดีตมีสภาพเป็นเรือกสวนไร่นาแบบสังคมชนบท มีการทำการเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบหมดแล้ว กลายเป็นสังคมเมือง เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารพาณิชย์ โรงงาน อุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่ ตลอดจนหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ มากมาย พื้นที่สวนอยู่เหลือเพียงเล็กน้อย และที่มีชื่อเสียงคือ สวนส้มบางมดและสวนลิ้นจี่
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
บางขุนเทียน | Bang Khun Thian |
5.789
|
34,591
|
5,975.30
|
|
2.
|
บางค้อ | Bang Kho |
3.375
|
33,756
|
10,001.78
|
|
3.
|
บางมด | Bang Mot |
11.918
|
43,163
|
3,621.67
|
|
4.
|
จอมทอง | Chom Thong |
5.183
|
31,820
|
6,139.30
|
|
ทั้งหมด |
26.265
|
143,330
|
5,457.07
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตจอมทอง[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ถนนพระรามที่ 2
- ถนนเอกชัย
- ถนนวุฒากาศ
- ถนนจอมทอง
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ถนนกำนันแม้น
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนจอมทองบูรณะ
- ถนนเทอดไท
- ถนนอนามัยงามเจริญ
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีวุฒากาศ)
- สถานีรถไฟคลองต้นไทร
- สถานีรถไฟจอมทอง
- สถานีรถไฟวัดสิงห์
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางน้ำ[แก้]
- คลองสนามชัย
- คลองด่าน
- คลองบางขุนเทียน
- คลองดาวคะนอง
- คลองบางมด
- คลองวัดกก
- คลองวัดสิงห์
- คลองบางปะแก้ว
- คลองลัดเช็ดหน้า
- คลองบางสะแก
- คลองบางระแนะ
- คลองบางระแนะน้อย
- คลองบางประทุน
- คลองบางหว้า
- คลองสวนเลียบ
- คลองบางค้อ
- คลองวัดโคนอน
- คลองสวนหลวงใต้
- คลองลำรางสาธารณะ
- คลองตาฉ่ำ
- คลองวัดนางชี
- คลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- คลองยายจำปี
- คลองกอไผ่ขวด
- คลองตาสุก
- คลองบัว
สถานที่สำคัญ[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”
- โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
- โรงเรียนวัดราชโอรส
- โรงเรียนเลิศพัฒนา
- โรงเรียนวัดไทร
- โรงเรียนแม่พระประจักษ์
- โรงเรียนวัดสีสุก
- โรงเรียนจินดามณี(โครงการเคมบริดจ์)